084-307XXXX tot59317@gmail.com

ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาผมร่วง

Share it Please
ผมร่วงมากเกินไป
ผมร่วง ผมบาง เป็นภาวะที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน
ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก กรรมพันธ์ หรือมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคมะเร็ง, โรคเอสแอลดี, เป็นต้น
1. ผมร่วง จากกรรมพันธุ์
ส่วนใหญ่มักจะพบในเพศชาย รากผม มีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ เส้นผม มีอายุสั้นกว่าปกติ และ เส้นผม ที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กและบางลง เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้บริเวณนั้นดู ผมบาง ลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะ และหน้าผาก เริ่มสังเกตได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป และจะเห็นชัดมากขึ้น ส่วนผู้หญิง มักจะเริ่มแสดงอาการหลังวัยหมดประจำเดือน ทำให้ดู ผมบาง ลง
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
ใน ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ป้องกันและรักษาที่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ยาส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น minoxidill, finastericde หรือ dutasteride ยาเหล่านี้ เมื่อหยุดใช้ ผม ก็จะกลับมาร่วงอีก การรักษาและแก้ปัญหาส่วนใหญ่ จึงควรจะเป็นการรักษาด้านกายภาพซึ่งจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผมร่วง ผมบาง ให้กลับมาดีขึ้นได้ และชะลอการ หลุดร่วง ของ เส้นผม
2. ผมร่วง ตามธรรมชาติ
โดยปกติแล้ว เส้นผม ของคนเรามีประมาณ 80,000 - 1,200,000 เส้น จะมีประมาณ 85-90% ที่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญงอกงาม และยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร และมีอายุนาน 2-6 ปีโดยปกติคินเราจะมี ผมร่วง เป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30-50 เส้น ซึ่งถือว่าเป็น ผมร่วง ตามธรรมชาติ หลังจากนั้นก็มีเส้นผมใหม่งอกขึ้นมาแทน วนเวียนไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับเซลล์ของผิวหนังที่มีบางส่วนที่ตาย และหลุดลอกออกมาเป็นขี้ไคลทุกวัน
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
อย่า วิตกกังวลมากเกินไป ลองสังเกตอาการดูซักระยะ ถ้าไม่ดีขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพ ดูว่าเป็นโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ผมร่วง หรือไม่
3. ผมร่วง จากโรคอื่น ๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสเอลอี , โรคมะเร็ง, โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคทางต่อมไทรอยด์, โรคไทฟอยด์, โรคซิฟิลิส, โรคไต เป็นต้น ก็อาจมีอาการ ผมร่วง ผมบาง ร่วมกับ อาการของโรคเหล่านี้ เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
สำหรับ โรคซิฟิลิส หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจเลือดหา วีดีอาร์แอล (VDRL) ถ้าเป็นโรคนี้จริง ควรให้การรักษาแบบซิฟิลิส ระยะที่ 2 (ดูโรคที่ ซิฟิลิส) ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมักทำให้กลายเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3 ซึ่งเป็นอันตรายได้
4. ผมร่วง จากยาและการฉายรังสี
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการ ผมร่วง มีอยู่หลายชนิด เช่น ยารักษามะเร็ง, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เช่น เฮพาริน (Heparin), ยารักษาคอพอกเป็นพิษ, ยาคุมกำเนิด,คอลชิซีน, อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ซึ่งใช้ป้องกันโรคเกาต์, แอมเฟตามีน (Amphetamine) เป็นต้น นอกจากนี้ การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง ก็อาจทำให้ ผมร่วง ได้
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
หากสงสัย ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม
5. ผมร่วง จากเชื้อรา
โรคเชื้อราที่ศีรษะ (กลากที่ศีรษะ) อาจพบได้บ่อยในเด็ก แต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกาย โรคนี้ทำให้ ผมร่วง เป็นหย่อม ๆ คล้ายโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ แต่จะมีลักษณะขึ้น เป็นผื่นแดง คันและเป็นขุยหรือสะเก็ด นอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา (กลาก) ที่ มือ เท้า ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย การขูดเอาขุยที่หนังศีรษะ หรือเอา เส้นผม ในบริเวณนั้นมา ละลายด้วยน้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อราที่เป็นสาเหตุ
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟุลวิน ซึ่งอาจต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
6 ผมร่วง จากการทำผม
การทำ ผม ด้วยการม้วน ผม ดัดผม เป่าผม หรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการ ผมร่วง ได้ บางรายถึงขั้นรุนแรงขนาดอยู่เฉย ๆ ก้อเห็น ผมร่วง หล่นลงมาอย่างเห็นได้ชัด
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
ไม่ ควรใช้วิธีการทำผมที่รุนแรง เช่นดึงผมอย่างแรง หรือใช้น้ำยาทำผมจากสารเคมีที่แรงเกินไป นอกจากนั้น ควรใช้แชมพูสูตรอ่อนละมุน หมั่นสระผม เช้า-เย็น เพื่อขจัดน้ำยาต่าง ๆ ที่แพ้ได้อย่างทันท่วงที
7. ผมร่วง เป็นหย่อม
อาจมีสาเหตุจากเชื้อรา (กลาก), ซิฟิลิส, การถอนผม, รอยแผลเป็น หรือสาเหตุอื่น ๆ แต่มี โรคผมร่วงเป็นหย่อม อยู่ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เรียกว่า "โรค ผมร่วง ย่อมไม่ทราบสาเหตุ (Alopecia areata)" เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งเป็นคราว พบมากในวัยหนุ่มสาว พบน้อยในคนอายุเกิน 45 ปี ขึ้นไป ทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่า ๆ กัน ภาวะเครียดทางจิตใจอาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการได้ ผู้ป่วยจะมีอาการ ผมร่วง เฉพาะที่ ทำให้ ผม แหว่งหายไปเป็นหย่อม ๆ มีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มี เส้นผม แต่จะเห็นรูขุมขน หนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติทุกอย่าง ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ด หรือเป็นขุย ในระยะแรกจะพบ เส้นผม หักโคนเรียงอยู่บริเวณขอบ ๆ บางคนอาจพบ เส้นผม สีขาวขึ้นในบริเวณนั้นผู้ป่วยอาจมี ผมร่วง เพียง 1-2 หย่อม หรืออาจมากกว่า 10 หย่อม ถ้าเป็นมากอาจลุกลามจนทั่วศีรษะ จนไม่มี เส้นผม เหลืออยู่เลยแม้แต่เส้นเดียว บางคนอาจมีอาการ ขนตา และ ขนคิ้ว ร่วงร่วมด้วย เรียกว่า "ผมร่วงทั่วศีรษะ (Alopecia totalis)" ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้เองตามธรรมชาติ แต่อาจกินเวลาเป็นปีกว่าจะหาย (ประมาณ 50% ของผู้ป่วยหายภายใน 1 ปี ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย จะมี ผม ขึ้นภายใน 5 ปี) บางคนเมื่อหายแล้ว อาจกำเริบได้ใหม่เป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง ประมาณ 40% ของผู้ป่วยจะกำเริบซ้ำอีกภายใน 5 ปี หรือไม่อาจมีคนอื่น ๆ ในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (โดยที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อแต่อย่างไร)บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบจากออโตอิมมูน, โรคแอดดิสัน,โรคด่างขาว เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง
หาก สงสัย ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาล อาจต้องเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล หรือขูดเอาหนังส่วนนั้นไปตรวจ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากซิฟิลิส หรือเชื้อรา ถ้าเป็นโรค ผมร่วง หย่อมไม่ทราบสาเหตุ ก็ให้ใช้ครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์ หรือ ครีมบีตาเมทาโซนขนาด 0.1% หรือทาด้วยขี้ผึ้งแอนทราลิน (Anthralin) ขนาด 0.5% วันละครั้ง ถ้าไม่ได้ผลใน 1 เดือน ก็อาจฉีดยาสเตอรอยด์ (เช่น ไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์) เข้าใต้หนังในบริเวณที่เป็นทุก 2 สัปดาห์ในรายที่เป็นรุนแรง ( ผมร่วง ทั้งศีรษะ) อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน ชนิดกินยาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ ผมงอกเร็ว ขึ้น